วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

นับตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน และได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงเป็นการเริ่มต้น ยุคแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ปรากฎ หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ เมื่อไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และหลังจากที่ พ่อขุนรามคำแหง มหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎหลักฐานด้าน ดนตรีไทย ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในหลักศิลาจารึก หนังสือวรรณคดี และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณา ถึงความเจริญและวิวัฒนาการของ ดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา จนกระทั่งเป็นแบบแผนดังปรากฎ ในปัจจุบัน พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

สมัยสุโขทัย
ดนตรีไทย มีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทย ในสมัยนี้ ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงไว้ในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดี ที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ, ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอสามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, และ กังสดาล เป็นต้น ลักษณะการผสม วงดนตรี ก็ปรากฎหลักฐานทั้งในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึง "เสียงพาทย์ เสียงพิณ" ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าวนี้ สันนิษฐานว่า วงดนตรีไทย ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้ คือ

1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย เป็นลักษณะของการขับลำนำ

2. วงขับไม้ ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ 1 คน คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 1 คน และ คนไกว บัณเฑาะว์ ให้จังหวะ 1 คน

3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิด คือ

วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็ก ๆ จำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ 2. กลองชาตรี 3. ทับ (โทน) 4. ฆ้องคู่ และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ละครชาตรี (เป็นละครเก่าแก่ที่สุดของไทย)
วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างหนัก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ใน 2. ฆ้องวง (ใหญ่) 3. ตะโพน 4. กลองทัด และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีและบรรเลงประกอบ การแสดงมหรสพ ต่าง ๆ จะเห็นว่า วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก

4. วงมโหรี เป็นลักษณะของวงดนตรีอีกแบบหนึ่ง ที่นำเอา วงบรรเลงพิณ กับ วงขับไม้ มาผสมกัน เป็นลักษณะของ วงมโหรีเครื่องสี่ เพราะประกอบด้วยผู้บรรเลง 4 คน คือ 1. คนขับลำนำและตี กรับพวง ให้จังหวะ 2. คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 3. คนดีดพิณ และ 4. คนตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ

สมัยกรุงศรีอยุธยา

ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ ในกฏมลเฑียรบาล ซึ่งระบุชื่อ เครื่องดนตรีไทย เพิ่มขึ้น จากที่เคยระบุไว้ ในหลักฐานสมัยสุโขทัย จึงน่าจะเป็น เครื่องดนตรี ที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ ขลุ่ย จะเข้ และ รำมะนา นอกจากนี้ในกฎมณเฑียรบาลสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) ปรากฎข้อห้ามตอนหนึ่งว่า "...ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน..." ซึ่งแสดงว่าสมัยนี้ ดนตรีไทย เป็นที่นิยมกันมาก แม้ในเขตพระราชฐาน ก็มีคนไปร้องเพลงและเล่นดนตรีกันเป็นที่เอิกเกริกและเกินพอดี จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ต้องทรงออกกฎมลเฑียรบาล ดังกล่าวขึ้นไว้

เกี่ยวกับลักษณะของ วงดนตรีไทย ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาขึ้นกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้ คือ

1. วงปี่พาทย์ ในสมัยนี้ ก็ยังคงเป็น วงปี่พาทย์เครื่องห้า เช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย แต่มี ระนาดเอก เพิ่มขึ้น ดังนั้น วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ คือ
ระนาดเอก
ปี่ใน
ฆ้องวง (ใหญ่)
กลองทัด ตะโพน
ฉิ่ง
2. วงมโหรี ในสมัยนี้พัฒนามาจาก วงมโหรีเครื่องสี่ ในสมัยสุโขทัยเป็น วงมโหรีเครื่องหก เพราะได้เพิ่ม เครื่องดนตรี เข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย และ รำมะนา ทำให้ วงมโหรี ในสมัยนี้ ประกอบด้วย เครื่องดนตรี จำนวน 6 ชิ้น คือ
ซอสามสาย
กระจับปี่ (แทนพิณ)
ทับ (โทน)
รำมะนา
ขลุ่ย
กรับพวง

เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี

เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี


เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ
1. ซอด้วง
2. ซอสามสาย
3. ซออู้

1.ซอด้วง
ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก

2.ซอสามสาย
ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี - คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม - รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน - หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ - ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม - หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น

3.ซออู้
ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น -ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน - หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ ๒๕๐ เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก ๕ เสียง

Jack Johnson มหัศจรรย์ดนตรีพลังงานแสงอาทิตย์



ช่วงนี้พลังงานธรรมชาติกำลังเป็นประเด็นสำคัญบนโลกของเรา โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ดูจะเป็นพลังงานสะอาดที่คนให้ความสนใจมากที่สุด หลายบริษัทเริ่มมีการนำเข้าและขายแผงโซล่าร์เซลล์อย่างชัดเจนมากขึ้นในตลาดเมืองไทย แต่มีศิลปินรายหนึ่งที่แฟนเพลงสากลในบ้านเราอุดหนุนผลงานเขามาอย่างต่อเนื่อง เขาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องและจริงจังมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ศิลปินคนนั้นก็คือ Jack Johnson นักร้อง นักแต่งเพลง นักทำสารคดี ชาวฮาวายผู้หลงใหลในการเล่นเซิร์ฟ
อัลบั้ม To The Sea เมื่อปี 2010 ของเขาถูกผลิตขึ้นจากสตูดิโอส่วนตัวทางหาดตอนเหนือของ Oahu ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ใช้พลังงานทั้งหมดจากโซล่าร์เซลล์บนหลังคาสตูดิโอนั่นเอง นอกจากรายได้ทั้งหมดจาการทัวร์รอบโลกของเขาในอัลบั้มนี้จะนำไปบริจาคเป็นการกุศล โดยส่วนใหญ่เป็นองค์กรการกุศลที่ฮาวายบ้านเกิดของเขาเอง อีกทั้งเขายังเข้าร่วมในโครงการ 1% for the Planet ที่นำ 1% ของยอดขายเข้าไปช่วยองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยโครงการนี้มีสมาชิกทั้งองค์กรธุรกิจ บริษัทเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นักเขียน และศิลปินจากทั่วโลกเข้ามาเป็นสมาชิก

เห็นอย่างนี้แล้วคงต้องชมเชยเรื่องความใส่ใจของศิลปินซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว ยังไม่ลืมที่จะใส่ใจสิ่งแวดล้อมกลับคืน โดยผลักดันให้เป็นจริงในเชิงรูปธรรม โดยเขาทำมาต่อเนื่องตั้งแต่ยังไม่ดังด้วยซ้ำไป

ที่มา ;  http://www.creativemove.me/music/jack-johnson-to-the-sea/

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ฮิปฮอปไทยแลนด์


ประวัติดนตรี ฮิปฮอป

ประวัติดนตรี ฮิปฮอป


 ฮิปฮอป (อังกฤษ: Hip Hop) หรืออาจเขียนเป็น ฮิป-ฮอป (อังกฤษ: Hip-hop) มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจากที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลงฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิดแผ่นเพลงในคลับต่าง ๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง loop, beat ใหม่ ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้น

 ประวัติ

          คำว่า ฮิปฮอป มักถูกยกเครดิตให้กับ Keith Cowboy แร็ปเปอร์วง Grandmaster Flash & The Furious Five ถึงแม้ว่าในยุคนั้นศิลปินอย่าง LoveBug Starski, Keith Cowboy, และ DJ Hollywood จะถูกเรียกในนามของ "Disco Rap" แต่เครดิตก็มักยกให้กับ Keith Cowboy

          ในช่วงยุค 70' เมื่อวัยรุ่นในย่านละแวกใกล้เคียงต้องการจะจัดงานปาร์ตี้ รื่นเริง (block party) ดนตรีฮิปฮอปจึงได้รับการแพร่ขยายเป็นที่รู้จัก ซึ่งฮิปฮอปก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ว่าเป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งอีกต่อไป แต่ยังได้รับการยกระดับให้เป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งด้วย โดย วัฒนธรรมฮิปฮอปจะเกิดขึ้นได้โดยต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ

กราฟฟิตี (graffiti) เป็นการเพนท์ พ่น กำแพง ความหมายเพื่อการเชื้อเชิญ แขก หรือสาว ๆ ในละแวกนั้นว่า งานปาร์ตี้เริ่มที่ไหนเมื่อไหร่
ดีเจ (DJ) ซึ่งมาจากคำว่า disc jockey ทำหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานปาร์ตี้
บี-บอย (B-Boy) - เป็นกลุ่มคนที่มาเต้นในช่วงระหว่างที่ดีเจกำลังเซ็ทแผ่นเพลง เพื่อเป็นการคั่นเวลา ซึ่งลักษณะการเต้น เราจะเรียกว่าเบรกแดนซ์ (break dance)
เอ็มซี (MC) เป็นแร็ปเปอร์ซึ่งหลังจากที่ ดีเจ เซ็ทแผ่นเรียบร้อยแล้ว MC จะทำหน้าที่ดำเนินงาน และงานปาร์ตี้ก็ได้เริ่มขึ้น
         ตอนต้นยุค 70s เริ่มจากดีเจในสมัยนั้นที่เป็นส่วนในการเล่นดนตรีแนวเบรก-บีท (break-beat) ซึ่งเป็นที่นิยมในการเต้นรำในสมัยนั้น DJ Kool Herc และ Grandmaster Flash ได้แยกการดีเจออกมาโดยเน้นเพื่อให้เป็นการเต้นรำได้ตลอดทั้งคืน เบรก-บีทนั้นก็พัฒนามาจากเพลงฟังก์ที่มีพวกเครื่องเล่นเพอร์คัชชันเล่นอยู่ด้วย และนี่ก็เป็นการพัฒนาของดีเจ รวมถึงคัตติง (cutting) ด้วย
         การแร็ปนั้น พวก MC ตอนแรกจะพูดเพื่อโปรโมทให้ดีเจในงานปาร์ตี้ต่าง ๆ แต่เริ่มมีการพัฒนาโดยการใส่เนื้อร้องลงไป โดยเนื้อหาอาจจะเกี่ยวกับชีวิต เรื่องรอบตัว ยาเสพติด เซ็กส์ โดย Melle Mel มักถูกยกเครดิตว่าเป็น MC คนแรก

         ปลายยุค 70s ดีเจหลายคนได้ออกแผ่น โดยมีการแร็ปลงจังหวะเพลง เพลงที่ดัง ๆ มีอย่าง "Supperrappin" ของ Grandmaster Flash & The Furious Five, "The Breaks" ของ Kurtis Blow และ "Rapper's Delight" ของ The Sugar Hill Gang เป็นต้น

จนกระทั่งในปี 1983 ฮิปฮิอปถูกย้ำให้ชัดเจนขึ้นเมื่อ Afrika Bambaataa and the Soulsonic Force ได้ออกแผ่นที่ชื่อว่า "Planet Rock" แทนที่จะเป็นการแร็ปในจังหวะดิสโก้ Bambaataa ได้ใช้เสียงอีเลคโทรนิกแบบใหม่ขึ้นมาแทน โดยเทคโนโลยีซินธิไซเซอร์สมัยนั้น จนกระทั่ง ฮิปฮอปเข้าสู่กระแสหลัก เป็นที่นิยมอย่างมากในยุค 90s ซึ่งในปัจจุบันมีศิลปินแนวฮิปฮอปอยู่จำนวนมาก

ดนตรีฟังก์


ประวัติดนตรีฟังก์

ฟังก์ (อังกฤษ: Funk) เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้น ด้วยเบสอีโลคโทรนิก และกลอง ให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว

          ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน

          ผู้มีอิทธิพลต่อดนตรีฟังก์ เช่น เจมส์ บราวน์ ,สลาย แอนด์ เดอะ แฟมิลี สโตน, จอร์จ คลินตัน แอนด์ พาร์ไลเมน-ฟังก์คาเดลิก,เคอร์ติส เมฟิลด์, เดอะ เมเตอร์ส,เดอะ ฟังก์ บราเตอร์ส, บูทซี คอลลินส์ และ พรินซ์ วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1970 อย่าง เอิร์ธ, วินด์ แอนด์ ไฟร์เออ ,ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์, เดอะ คอมโมดอร์ส และคูล แอนด์ เดอะ แกงก์ ที่โด่งดังหลายๆ วง ก็เล่นเพลงในแนวดิสโก้และโซลด้วย

         ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง


ดนตรีดิสโก้


ประวัติดนตรีดิสโก้

ดิสโก้ (อังกฤษ: Disco) เป็นแนวเพลงประเภทหนึ่ง สาขาย่อยของดนตรีแดนซ์ ที่ผสมผสานแนวฟังก์กับโซลเข้าด้วยกัน ดิสโก้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วยยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ตอนกลางถึงปลาย ศิลปินแนวดิสโก้ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น เช่น ดอนนา ซัมเมอร์, เดอะแจ็กสันไฟฟ์, แบร์รี ไวต์, บีจีส์, บอนนี เอ็ม. และแอ็บบ้า เป็นต้น

     ประวัติ

     ใน ค.ศ. 1969 เพลงแรกที่ถูกเอ่ยถึงคือเพลง "Only the Strong Survive" ของ Jerry Butler เพลงนี้มีหลายส่วนใช้องค์ประกอบของดิสโก้โดยเพลงนี้ได้รวมแนว Philly และ New York soul เป็นที่มาคนดนตรีแบบโมทาวน์ด้วย แต่คำว่าดิสโก้ถูกทำให้รู้จักขึ้นโดยบทความของ Vince Aletti ฉบับวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1973 ในนิตยสาร The Rolling Stone

     ใน ค.ศ. 1974 เริ่มมีเพลงดิสโก้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 เช่นเพลง "Rock The Boat," ของ Hues Corporation , "Love's Theme" โดย Love Unlimited Orchestra (วงของแบร์รี ไวท์) หลังจากนั้นได้มีเพลงฮิตบนชาร์ตอยู่หลายเพลง เช่น Van McCoy เพลง "The Hustle" และ Donna Summer เพลง "Love to Love You, Baby", Silver Convention เพลง "Fly Robin Fly" (ค.ศ. 1975), และ The Bee Gees เพลง"Jive Talkin'" (ค.ศ. 1975) เพลงดิสโก้เริ่มได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง ค.ศ. 1976 - 1979 มีภาพยนตร์ดังหลายเรื่องที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับดิสโก้เช่น Saturday Night Fever และ Thank God It's Friday

เคล็ดลับในการเล่นเปียโน


เคล็ดลับเจ็ดประการในการเล่นเปียโนให้เป็นเร็ว
เคล็ดลับข้อที 1
วางเป้าหมายเอาไว้
     ควรจะมีการวางเป้าหมายการซ้อมเอาไว้ทุกครั้งที่นั่งลงซ้อมที่เปียโน โดยเลือกเพลง และลักษณะการฝึกซ้อมให้เหมาะสมกับเวลาที่มีอยู่ในแต่ละวัน เป้าหมายที่เหมาะสมเช่น หัดท่อนนี้ในเวลาวันละ 20 นาทีจนคล่องให้ได้ในเวลา 1 สัปดาห์ และเมื่อชำนาญแล้วอาจเปลี่ยนเป้าหมายเป็นการเปลี่ยนคีย์เล่น เป้าหมายที่เมาะสมช่วยให้ผู้เล่นใช้เวลาฝึกหัดได้อย่างเหมาะสมและสามารถมองเห็นพัฒนาการได้ชัดเจน ทำให้มีกำลังใจที่จะฝึกซ้อมต่อไป


เคล็ดลับข้อที 2
เล่นร่วมกับเพื่อน
     ลองหัดเล่นคู่กับเพื่อนหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากว่าการเล่นร่วมกับผู้อื่นนั้นผู้เล่นจะต้องมีสมาธิอย่างมากในการรักษาจังหวะให้ตรงกับเพื่อน ซึ่งการฝึกนี้ช่วยพัฒนา Timing และทักษะด้านจังหวะ, sight reading แกละทักษะการฟังของผู้เล่นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้การซ้อมเป็นไปอย่างสนุกสนานกว่าการซ้อมคนเดียวอีกด้วย


เคล็ดลับข้อที 3
อย่ากังวลกับข้อผิดพลาด
     หากมัวแต่ไปกังวลเวลาที่เล่นผิดพลาดก็จะทำให้เกิดความกังวลและประหม่าตลอดเวลา ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีความมั่นใจที่จะฝึกฝนและเล่นเพลงที่ยากๆได้ต่อไป เมื่อผู้เล่นเรียนรู้เพลงท่อนใหม่ๆ เป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องมีข้อผิดพลาดบ้างในการเรียนรู้ อย่างน้อยการที่หูนั้นสามารถรับรู้ถึงข้อผิดพลาดนั้นได้ทำให้ผู้เล่นมีโอกาสแก้ตัวและเล่นให้ถูกต้องได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำก็คือเรียนรู้จากข้อผิดพลาดโดยไม่ต้องไปกังวล



เคล็ดลับข้อที 4
เรียนรู้คอร์ดต่างๆเป็นอันดับแรก
     การฝึกการเล่นคอร์ดต่างๆจนชำนาญนั้นจะช่วยให้การหัดเล่นเพลงคลาสสิคง่ายขึ้น การฝึกเล่นคอร์ดต่างๆจนชำนาญผู้เล่นก็จะสามารถเล่นเพลงคลาสสิคยากๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว การเริ่มหัดเพลงคลาสสิคก่อนนั้นผุ้เล่นจะรู้สึกว่าซับซ้อน และหมดกำลังใจในเวลาอันรวดเร็ว  แต่ถ้าผู้เล่นเริ่มหัดระบบและทางเดินคอร์ดก่อน จะสามารถเข้าใจและฝึกหัดเพลงคลาสสิคได้ดีขึ้นมาก



เคล็ดลับข้อที 5
สร้างทัศนคติที่ดีกับการเล่นเปียโน
     การสร้างทัศนคติที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในการเล่นและฝึกหัดเล่นปียโน โดยผู้เล่นจะต้องสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการเล่นเปียโน และรับรู้ถึงสุนทรีย์ภาพและประโยชน์ในการเล่นเปียโน ความรู้สึกว่าถูกบังคับให้ซ้อมมักจะทำให้ผู้เล่นเบื่อหน่าย ท้อแท้ และอยากเลิกเล่น วิธีที่ดีก็คือนึกถึงส่วนที่ชอบในเพลง และสร้างความรู้สึกอยากฝึกซ้อม และพัฒนาส่วนนั้นๆเป็นพิเศษ อาจจะเป็นเพลงหรือสเกลท่อนที่ชอบ เมื่อฝึกส่วนที่ชอบและพัฒนาทักษะต่างๆเหล่านั้นได้ ก็จะทำให้มีกำลังใจฝึกต่อไปได้เรื่อยๆ

เคล็ดลับข้อที 6
ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งแจ่มใส
     ผู้เล่นอาจจะยังไม่ควรซ้อมเปียโนหากเจอเหตุการณ์ร้ายๆ, ได้ข่าวร้าย หรือเพิ่งทะเลาะกับใครมาเพราะว่าสภาพจิตใจนั้นมีผลอย่างมากกับการเล่นเปียโน ดังนั้นก่อนที่จะเล่นเปียโนจิตใจควรจะอยู่ในสภาวะที่ปลอดโปร่งแจ่มใสเพื่อที่การซ้อมนั้นจะได้ประสิทธิผลเต็มที่ ผู้เล่นอาจจะไปเดินเล่นในสวนเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์, อ่านหนังสือ หรือดูทีวีรายการสนุกๆ เพื่อเรียกสมาธิทำอารมณ์ให้แจ่มใส เพื่อให้การซ้อมนั้นสนุกและมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ หากอารมณ์ไม่ดีจริงๆอาจจะให้เวลาตัวเองพักหนึ่งวันและกลับมาซ้อมในวันรุ่งขึ้น



เคล็ดลับข้อที 7
ใช้จินตนาการสร้างความความรู้สึกคุ้นเคย
     ในวงการกรีฑานั้น นักกรีฑาจะมีการฝึกใช้จินตนาการนึกภาพตั้งแต่เริ่มออกสตาร์ท วิ่งแซงคู่แข่ง ไปจนเข้าเส้นชัย และได้ยินเสียงผู้ชนโห่ร้องแสดงความยินดี การจินตนาการเหล่านี้จะเป็นการเตรียมสภาพจิตใจให้คุ้นเคยกับภาพเหล่านี้ซึ่งจากการวิจัยแล้ว จะมีผลให้ร่างการรู้สึกคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อนในการแข่ง และสามารถลดแรงกดดันและแสดงประสิทธิภาพได้ดีขึ้น  การฝึกฝนลักษณะเดียวกันนี้ก็สามารถใช้ได้กับเปียโนเช่นกัน ผู้เล่นอาจจะลองพยายามจินตนาการตัวเองขณะซ้อมเล่นอยู่ที่เปียโน นึกถึงเพลงท่อนโปรดที่อยากจะซ้อม นึกภาพผู้เล่นไล่นิ้วไปตามคีย์ ทิ้งน้ำหนักลงบนนิ้ว เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ของเพลงไป ให้เหมือนกับว่ากำลังเล่นอยู่จริงๆ และนึกถึงเสียงด้วยว่ากดคีย์นี้ไปแล้วมีเสียงอย่างไร ถือเป็นวิธีการฝึกซ้อมในใจ ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นเกิดความคุ้นเลยทั้งในการเล่นและสภาพอารมณ์ ผู้เล่นจะแผลกใจว่าวิธีจินตนาการนี้สามารถช่วยพัฒนาทักษะได้อย่างรวดเร็วทีเดียว

เกี่ยวกับผู้แต่ง
     Graham Howard เป็นผู้ซึ่งถูกขนานนามว่า “กูรูแห่งดนตรี” และใช้เวลาทั้งชีวิต คร่ำหวอดอยู่กับดนตรี หลากชนิด เป็นทั้งนักดนตรีมือพระกาฬและนักประดิษฐ์ที่สามารถสร้างเปียโนขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งจูนและเป็นผู้ให้คำปรึกษา Graham รักที่จะถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางดนตรีของเขา หากมีข้อสงสัย สามาติดต่อได้ที่ grahamhoward@ukpianos.co.uk หรือสามารถเข้าเยี่ยมชมบทเรียนเปียโนฟรีสำหรับผู้เริ่มต้นได้ที่ http://www.ukpianos.co.uk/free-online-piano-lessons.html

ดนตรีพัฒนาคุณภาพชีวิต


ดนตรีพัฒนาคุณภาพชีวิต
ในสภาวะที่สภาพสังคมล้วนแล้วแต่แวดล้อมไปด้วยความสับสนวุ่นวาย เต็มไปด้วยการแข่งขัน แต่ละคนล้วนแล้วแต่มุ่งไปหาความเจริญทางด้านวัตถุมากกว่าความเจริญของจิตใจเช่นในปัจจุบัน ส่งผลทำให้มนุษย์แต่ละคนเกิดความเครียด และก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายขึ้นในสังคม

การแพทย์ในปัจจุบันได้ค้นพบว่า การที่เราได้ลองสัมผัสดนตรีที่เลือกสรรแล้วว่ามีคุณภาพทั้งเนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ ความดังเบา และเสียงประสาน จะช่วยกระตุ้นให้สมองของมนุษย์ได้หลั่งสารแห่งความสุข หรือ Endorphin เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสารนี้ก็จะส่งผลดีต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบไหลเวียนของโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ รวมไปจนถึงระบบประสาทด้วย
นอกจากนั้น ดนตรียังช่วยเพิ่มความจำ เพิ่มสติปัญญา และก่อให้เกิดความคิดริเริ่มด้วย จึงกล่าวได้ว่าการมีดนตรีในจิตใจสามารถช่วยให้สุขภาพกาย และสุขภาพใจของมนุษย์สมบูรณ์ขึ้นได้ แม้ว่าจะต้องอยู่ท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันก็ตาม

ในปัจจุบันแม้ชีวิตประจำวันของมนุษย์จะมีความสัมพันธ์กับดนตรีอย่างแน่นแฟ้นมากแค่ไหนก็ตามจากการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ดูคอนเสิร์ต งานรื่นเริงสังสรรค์ก็ตาม แต่ส่วนใหญ่การฟังดนตรีเหล่านั้นก็มักจะเน้นไปในรูปแบบของการบันเทิง เพื่อผ่อนคลายความเครียดเพียงด้านเดียวเท่านั้น

แต่ถ้าเราหันมาใช้ดนตรีอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการนำดนตรีมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต สร้างคุณภาพชีวิตและให้ได้รู้จักตนเองอย่างแท้จริง เราก็จะได้เห็นประโยชน์อย่างมหาศาลจากดนตรี ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้จิตใจปลอดโปร่งแจ่มใส สุขภาพจิตดี ไปจนถึงส่งผลให้ร่างกายเกิดความแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า แถมยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการพบแพทย์อีกด้วย เพียงแต่จะต้องรู้จักวิธีการฝึกฝนอย่างถูกวิธีเพื่อที่จะได้พัฒนาสุขภาพกาย และสุขภาพใจไปพร้อมๆ กัน

วิธีการฝึกปฏิบัติสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน และแต่ละขั้นตอนนั้นก็ก่อให้เกิดประโยชน์แตกต่างกันออกไป เริ่มต้นด้วย

1.การฝึกหายใจและการทำสมาธิ ซึ่งการทำสมาธินั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ลดความเครียด ลดความกระวนกระวาย เกิดความสงบ ยุติความวิตกกังวล เป็นเครื่องพักผ่อนให้กายและใจมีความสุข

2.ฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายยิ่งขึ้น และมีความพร้อมในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ

3.ฝึกการขับร้อง ซึ่งการร้องเพลงเป็นสิ่งบันเทิงที่ใกล้ตัวที่สุด ประหยัดที่สุด เพราะเครื่องดนตรีชิ้นนี้คือ "เส้นเสียง" ซึ่งอยู่ภายในร่างกายของเราเอง ไม่ต้องใช้เงินไปหาซื้อมาจากไหน เมื่อเรามีความสุข ก็อยากขยับปากร้องเพลง เสียงที่เปล่งออกมาจากส่วนลึกของจิตใจจะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นชึ้น ปอดและหัวใจทำงานเต็มที่ และเป็นการผ่อนคลายความเครียดอย่างสร้างสรรค์ไปในขณะเดียวกัน

4.ฝึกการฟังดนตรีเพื่อสร้างจินตนาการ จินตนาการจะทำให้คนเรารู้สึกผ่อนคลายและสมองแจ่มใส ดังนั้นการฟังเสียงดนตรี เช่น พิณฝรั่ง ขลุ่ย ระนาด ไวโอลิน เปียโน ผสมผสานกับเสียงจากธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก เสียงคลื่นในทะเล เสียงลมพัด เสียงนกร้อง เสียงใบไม้ไหว เสียงน้ำตก ฯลฯ จะทำให้เกิดความรู้สึกที่อบอุ่น สงบ และสบาย

     

อย่าลืมว่า สุขภาพที่ดี เกิดขึ้นเองไม่ได้ ใช้เงินหาซื้อมาก็ไม่ได้ แต่สร้างได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะจากการเล่นและการฟังดนตรีนั่นเอง





ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.posttoday.com/

เพลงป๊อป โดนๆ


ประเภทเครื่องดนตรีไทยและสากล


การจัดแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยและสากล   

      เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล มีวิธีการจัดแบ่งประเภทต่างกันและจัดแบ่งประเภทต่างกันดังนี้

ประเภทของเครื่องดนตรีไทย
     แบ่งตามวิธีการที่ทำให้เกิดเสียงได้ 4 ประเภท คือ
  1. เครื่องดีด เช่น กระจับปี่ จะเข้ พิณน้ำเต้า พิณเพียะ พิณอีสาน ซึง(ภาคเหนือ)
  2. เครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย สะล้อ(เหนือ) ซอกันตรึม(อีสาน)
  3. เครื่องตี แบ่งเป็น 3 พวก คือ
     3.1 พวกที่ทำด้วยไม้ เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม กรับ เกราะ โกร่ง กั๊บแก๊บ โปงลาง
     3.2 พวกที่ทำด้วยโลหะ เช่น ระนาดเหล็ก ฆ้องวง ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ขิม มโหระทึก(กลองชนิดหนึ่งที่หน้ากลองขึงด้วยโลหะ)
     3.3 พวกที่ขึงด้วยหนัง เช่น กลองประเภทต่าง ๆ
  4. เครื่องเป่า ได้แก่พวกปี่และขลุ่ย
     4.1 พวกปี่ เช่น ปีนอก ปี่ใน ปี่ชวา
     4.2 พวกขลุ่ย เช่น ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยกรวด (เสียงสากล) ขลุ่ยนก

ประเภทเครื่องดนตรีสากล (ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่)
      แบ่งตามวิธีการทำให้เกิดเสียงและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ได้ 5 ประเภทคือ
  1. เครื่องสายแบ่งเป็น ประเภทสีและดีด เช่น กีตาร์ เบส ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล ดับเบิ้ลเบส เบนโจ แมนโดลิน อะคูเลเล ฮาร์พ
  2. เครื่องเป่าทองเหลือง ได้แก่พวกแตร เช่น ทรัมเป็ต คอร์เน็ต ทูบา ซูซาโฟน ทรอมโบน ยูโฟเนียม บาริโทน ฮอร์น
  3. เครื่องเป่าลมไม้ เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต ฟลุ้ต ปิคโคโล เรคคอร์เดอร์ โอโบ บาสซูน
  4. เครื่องคีย์บอร์ด เช่น เปียโน ออร์แกน อิเลคโทน(เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเล่นได้ทั้งเสียงกลอง เสียงคอร์ด เสียงโซโล อยู่ในตัวเดียวเหมือนกับวงดนตรีทั้งวง) แอคคอร์เดี้ยน เมโลเดี้ยน
  5. เครื่องกำกับจังหวะหรือเครื่องกระทบ เช่น กลองชนิดต่าง ๆ ฉาบ ไฮแฮท ไซโลโฟน เบลไลร่า

ประเด็นคำถาม
       1. การจัดแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลมีวิธีการจัดแบ่งที่แตกต่างกันอย่างไร ?
       2. เครื่องดนตรีไทยจัดแบ่งประเภทได้กี่ประเภทแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ?
       3. เครื่องดนตรีสากลจัดแบ่งประเภทได้กี่ประเภทแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ?
     
กิจกรรมเสนอแนะ
       1. ควรจำรูปร่างลักษณะของเครื่องแต่ละประเภทให้ได้
       2. ให้ไปศึกษารูปร่างลักษณะ เสียงและวิธีการบรรเลงได้ที่เว็บครูดนตรีทูปดอทคอม http://www.krudontreetube.com

การบูรณาการกับสาระการเรียนรูอื่น ๆ
       1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม : ประวัติความเป็นมาของเครื่องดนตรีแต่ละประเภท
       2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : ทักษะการฟัง, ทักษะการเขียน
       3. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ : คำศัพท์ชื่อเครื่องดนตรีสากล
       4. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ : ทักษะการจำ (จำรูปร่างและจำเสียง)
       5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา : การพัฒนาตน การพัฒนาบุคลิกภาพ

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม
       1. เว็บครูดนตรีทูป
       2. บล็อกครูดนตรี

ระดับเสียงดนตรี


เสียงสูงๆ ต่ำๆ ที่มีผลต่ออารมณ์เพลง   

ระดับเสียง (Pitch)
      ระดับเสียง  คือเสียงที่มีความสูง - ต่ำ  แตกต่างกัน   เมื่อต้องการบันทึก
หรือประพันธ์เพลง ให้มีความไพเราะสอดคล้อง ผู้ประพันธ์ก็จะนำเอาเสียงสูงๆ
ต่ำๆ มาไล่เลียงกันตามความต้องการ  ทั้งนี้จะต้องนำความรู้สึกเกี่ยวกับ
ความสั้นยาวของเสียง ( Duration )  และจังหวะหลัก ( Beat ) และความช้า
ความเร็วของเสียง ( Tempo ) มาใช้ประกอบในการแต่งทำนอง
     ระดับเสียง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบทเพลงเนื่องจาก ระดับเสียงจะเป็นสื่อ
ที่แสดงให้เห็น ความไพเราะของแนวทำนอง และหากนำแนวทำนองมาเรียบเรียง
เสียงประสาน ( Arrange )  หรือใส่แนวประสานตามหลักวิชาว่าด้วยการประสานเสียง
( Harmony )  ก็จะมีระดับเสียงสูงๆ ต่ำๆ ที่เกิดจากการประสานเสียงมาช่วยสนับสนุน
ให้เสียงในแนวทำนองมีความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
 

ที่มา : หนังสือหลัการประพันธ์เบื้องต้น ผ.ศ.พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล

สัญลักษณ์ของเสียง และเครื่องหมายกำหนดจังหวะ



ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น   

จังหวะหลัก (Beat)
   จังหวะหลัก เป็นจังหวะเคาะที่มีความสม่ำเสมอของการดำเนินท่วงทำนองดนตรี ผู้ฟัง
สามารถรู้ได้ว่าเพลงแต่ละเพลง มีจังหวะเคาะอย่างไร โดยสังเกตุจากการปรบมือไปตาม
จังหวะของบทเพลงที่เราฟัง จังหวะหลักหรือจังหวะเคาะอาจจะเป็น 2,3,4, จังหวะเคาะ
หรือมากกว่านั้นก็ได้
   จังหวะหลักหรือจังหวะเคาะในแต่ละเพลงอาจจะมีความ ช้า - เร็ว (Tempo) ไม่เท่ากัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงค์ของผู้ประพันธ์ หรือความสมเหตุสมผล ของอารมณ์เพลงนั่นๆ
เช่น เพลงที่มีอารมณ์สนุกสนานร่าเริง มักใช้จังหวะเร็วหรือค่อนข้างเร็ว เพลงโศกเศร้า
ใช้จังหวะค่อนข้างช้า หรือช้า เพลงที่ฟังสบายๆ ดำเนินไปเรื่อยๆ มักใช้ความเร็วขนาด
ปลานกลาง เป็นต้น
ผู้ฟังสังเกตุได้ว่าดนตรีนอกจากจะมีจังหวะหลักแล้ว ความช้าเร็วก็ยังมีผลต่ออารมณ์และความ
ไพเราะเหมาะสมของบทเพลงด้วย อย่างไรก้ตาม ไม่ว่าจะใช้จังหวะที่มีความช้าหรือความเร็ว
ขนาดใดก็ตาม เพลงทุกๆเพลงจะต้องใช้จังหวะหลักที่สม่ำเสมอตลอดเพลง ถึงแม้ว่านักประพันธ์
จะพยายามสร้างเพลงให้มีความเร็วที่แตกต่างกันไปบ้าง ในแต่ละท่อนเพลง หรือในบางช่วง
บางตอนของเพลง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นก็ดำเนินอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปในลักษณะ
ให้เร็วขึ้น ช้าลง ปานกลาง ค่อนข้างช้า ค่อนข้างเร็ว เป็นต้น  

ที่มา : หนังสือหลัการประพันธ์เบื้องต้

ดนตรีในชีวิต

ดนตรีในชีวิต

ในชีวิตประจำวันของเราล้วนมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา   

ชีวิตคนเราเกิดมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือว่าทุกอริยาบทที่แสดงออกทางอินทรีย์5 ก็มีความเกี่ยวข้องกับดนตรี ในชีวิตคนเราพูดถึงปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตแต่ในปัจจุบันอาจมีปัจจัย 5 เข้ามาเกียวข้องคือ โทรศัพท์มือถือก็มีเสียงเพลงเรียกว่าแสดงออกความเป็นอัตตาของตนเอง ในสังคมด้านธุรกิจเพลงก็สามารถทำรายได้มหาศาลให้กับผู้ประกอบการ  ทุกเทศกาลงานๆต่าง ชีวิตมีความสุข ความทุกข์ ดีใจ ฉลองความสำเร็จก็มีบทเพลงเข้ามาเกี่ยวข้อง
มาดูว่าความต้องการของของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ด้านใหญ่ๆคือ
1.ความต้องการทางกาย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย
2.ความต้องการทางจิตใจ ได้แก่ ชื่มชมความงามของธรรมชาติ ศิลปะต่างๆ นาฎศิลป์ ดนตรี
1.ดนตรีกับชีวิตประจำวัน  ในชีวิตประจำวันคนเราต้องเกี่ยวข้องกับดนตรีอยู่เสมอมีกจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของ    ชีวิต
เช่นตื่นนอน        เปิดเพลงฟังขณะทำงานต่างๆ  หรือเดินทาง
ถึงโรงเรียน        ร้องเพลงชาติ
ขณะเรียน          ใช้เพลงประกอบการเรียนโดยเฉพาะอนุบาลและประถมศึกษาต้องใช้มากกว่าบทร้องอื่นๆในโรงเรียนโดยเฉพาะใช้  
                          ดนตรีประกอบกิจกรรมต่างๆ
กลับบ้าน          พักผ่อนดูโทรทัศน์ฟังเพลง เพลงจากวิทยุรายการโทรทัศน์จะขาดเพลงหรือดนตรีไม่ได้

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
    1.นักเรียนที่เรียนดนตรี จะมีสมาธิและตรรกวิทยาดีขึ้น จนมีผลให้การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนสูงขึ้น
    2.ในด้านธุรกิจเสียงดนตรีในระดับที่พอดี  จะช่วยกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำงานอารมณ์ดีมีความขยันขันแข็ง ทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น
2.ความสำคัญของดนตรี     อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1ความสำคัญต่อบุคคล ได้แก่
        - เป็นเครื่องระบายอารมณ์ เช่น เพลงเศร้า เพลงรัก
        - เป้นเครื่องกระตุ้นและสร้างอารมณ์ เช่น เพลงมาร์ช เพลงประกอบภาพยนต์
        - เป็นอาชีพได้อย่างหนึ่ง
    2.2ความสำคัญต่อส่วนร่วมหรือสถาบัน ได้แก่
        -ใช้เป็นสัญลักษณ์ เช่น เพลวชาติ เพลงประจำโรงเรียน
        - เป็นเครื่องบำรุงจิตใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
        - ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การจัดมหกรรมคอนเสริตท์ต่างๆทำให้ผู้ที่มีรสนิยมดนตรีคล้ายกันมารวมตัว
          ก่อให้เกิดรายได้
        - เป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมมักจะมีเพลงเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ 

3.ดนตรีคืออะไร
    ดนตรี คือ เสียงต่างๆที่เกิดขึ้นโดยมีเจตนาและมีระบบ ระบบเสียงของดนตรีมีหลายระบบแต่ที่รู้จักกันมากคือ ระบบบันไดเสียง
 เสียงสัตว์ร้อง เสียงโรงงานอุตสาหกรรม เสียงรถยนต์  ไม่ถือเป็นเสียงดนตรีเพราะว่าไม่มีการจัดระบบของเสียง

4.การฟังดนตรี ควรมีลักษณะดังนี้
    4.1 ขยายขอบเขตการฟัง คือ แสวงหาการฟังดนตรีแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยฟังมาก่อนอยู่เสมอ
    4.2 รู้จักเลือกฟังเพลงที่มีคุณค่า มีรสนิยมที่ดีในการฟังเพลง
    วิธีฟังเพลง อาจแบ่งเป็น 3 ระดับได้ดังนี้
    4.3 การฟังโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปิดวิทยุเบาๆขณะทำงาน
    4.4 การฟังโดยความตั้งใจ ทำให้เกิดอารมณ์อ่อนไหวไปกับเพลง ทั้งนี้ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกับเพลงที่กำลังฟังอยู่
    4.5 การฟังโดยความเข้าใจ คือตั้งใจฟังและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีโดยทั่วๆไป เช่นความรู้ด้านวิวัฒนการของดนตรี และความรู้ทฤษฎีของดนตรี

5.มารยาทในการฟังดนตรี
    5.1ไม่ทำความรำคาญให้แก่ผู้อื่น
    5.2 ควรเข้านั่งที่ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มการแสดงดนตรี
    5.3 ไม่ควรนำเอาของขบเขี้ยวเข้ารับประทานด้วย
    5.4 ไม่ควรคุยหรือ กระซิบกระซาบกับเพื่อนที่ไปด้วย

6.ประเพณีการฟังดนตรี
    6.1 แต่งกายให้สุภาพ หรือตามที่นิยมแต่ล่ะประเทศแต่ล่ะสมัย
    6.2 ให้เกียรติและแสดงความชื่นชมแก่ผู้แสดงโดยการปรบมือเมื่อถึงจังหวะ
        6.2.1การปรบมือในการฟังดนตรี
            - เมื่อหัวหน้าวงเดินออกมาประจำที่
            - เมื่อผู้อำนวยเพลงหรือผู้แสดงเดี่ยวเดินออกมา
            - เมื่อจบเพลงแต่ล่ะเพลง
            - เมื่อการแสดงทั้งหมดสิ้นสุดลง
        6.2.2การปรบมือในการชมการแสดงอุปรากร ควรปรบมือในโอกาสต่อไปนี้
            - ขณะผู้อำนวยเพลงเดินออกมา
            - เมื่อวงดนตรีเล่นเพลงโหมโรงจบแล้ว
            - เมื่อร้องเดียวร้องเพลงเดี่ยวจบแต่ล่ะเพลง
            - เมื่อจบฉากแต่ละฉาก
            - เมื่อจบการแสดงทั้งสิ้น

        ดนตรีเป็นสิ่งที่สวยงามถ้าเราใช้ในทางสร้างสรรค์สังคมก็จะน่าอยู่เพราะโลกนี้จะเป็นสีชมพูไปที่แห่งไหนก็มีเสียงเพลงและความสุขกับรอยยิ้มของผู้คนที่สดใส

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์สาระที่ ๒   ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๑   เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก 
ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ระดับชั้น ม.3 หรือช่วงชั้นที่ 3

ประเด็นคำถาม
1.ความต้องการทางด้านจิตใจคืออะไร
2.ดนตรีหมายถึงอะไร
3.ดนตรีเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอะไรบ้าง
4.การฟังดนตรีมีกี่ระดับ
5.มารยาทในการฟังดนตรีมีอะไรบ้าง

กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนลองวิเคราะห์ดูว่ากิจกรรมดนตรีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมีอะไรบ้างเขียนมา 5 ข้อ
การบูรณาการ
สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและวัฒนธรรม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

แหล่งที่มาของข้อมูล
http://media.techeblog.com/images/pavement_1.jpg
http://www.carabao2524.com/board/images/2008/03/Carabao2524_00002428004.jpg 

เพลงสกา


เพลงเร้กเก้