วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของเสียงดนตรี

ประโยชน์ของเสียงดนตรี

นอกจากคนเรามีความต้องการ อาหาร เพื่อให้สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ แล้วมนุษย์ยัง มีความต้องการ อาหารอีก แบบหนึ่งซึ่งก็คือ อาหารทางใจ อาหารทางตา อาหารทางหู และอาหารทางสมองอีกด้วย ซึ่งอาหารประเภทหลังนี้ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ เกิดความบันเทิง อีกทั้งยังสามารถ ขัดเกลา ให้มนุษย์มีจิตใจที่ดีงาม ได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่ว่านี้ก็คือ ศิลปะการขับร้อง การเล่นดนตรี นั่นเอง

วงดนตรีไทย มีประโยชน์มากมาย อาทิเช่น ช่วยให้ ผ่อนคลาย ทำให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจาก ในการเล่นดนตรี ต้องมีการเล่นกันหลายๆ คน ทั้งนักร้อง นักดนตรี ต้องมีสมาธิและ ที่สำคัญต้องมีความสามัคคีกัน เพื่อให้เกิดการ สร้างงานที่มีคุณภาพ นอกจากดนตรีจะช่วยสร้าง ความสามัคคีแล้วยัง ช่วยให้มนุษย์ มีวัฒนธรรม ซึ่งก็คือ คนที่แต่งเนื้อร้อง หรือนักประพันธ์เพลงต้องยึดหลักเกณฑ์ ที่มีระเบียบวินัย และคำสอนต่างๆ สอดแทรกลงใน เนื้อหาของเพลง เพื่อให้คนฟังได้คิดตาม และยึดเป็นหลัก ในการคิดทำสิ่งที่ดีงาม ต่อไป
ปัจจุบัน มีนักร้อง นักดนตรี มากมาหลายภาษา และถ้าเรามีการชื่นชอบบทเพลง ซึ่งบางครั้งก็ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ชอบจังหวะ ของบทเพลงก็จะทำให้ เราได้มีการฝึกฝน และหัดร้อง จนสามารถที่จะเรียนรู้ถึง เนื้อหาของเพลงได้ จึงเป็นการฝึกภาษาไปอย่างอัตโนมัติ


ประโยชน์ของดนตรีต่อสังคมมนุษย์

1. ด้านการศึกษา นำเสียงดนตรีมาใช้ประกอบในการสอนแบบสร้างสรรค์ทางศิลปะผลปรากฏว่าเสียงดนตรี สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เสริมสร้างความคิด จินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด ทำให้หายเหนื่อย และผ่อนคลายความตึงเครียด



หลักการดังกล่าวนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรีก ในยุคเฮเลนิสติค(Hellinistic Period 440-330 B.C) ชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของ อีธอส (Doctrine of ethos) ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรี โดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบ หรือความขัดแย้ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้าย ในหนังสือ Poetics นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์ เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรีซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไป ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วย ตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจ ก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่มีจิตใจสูง ดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล จึงมีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬา และดนตรีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจ เปลโต สอนว่า “การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด” ยิ่งกว่านั้นเปลโตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหว ควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”บันไดเสียงทั้งสองข้างต้นทำให้เกิดอารมณ์กล้าหาญและสุภาพเรียบ ร้อย เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า “จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติก็แล้วกัน”



2.ด้านการแพทย์

ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นและยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยเฉพาะการใช้ดนตรีลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ดังที่ผู้ใช้นามปากกาว่า คุณทองจีน บ้านแจ้ง เขียนไว้ในเรื่อง แกะสะเก็ดคลาสสิค ในหนังสือ ชาวกรุง ฉบับที่ 5 พ.ศ.2522 ว่า“หมอชาวกรีกโบราณท่านหนึ่งชื่อว่า แอสคลีปีอุส(Asclepius)ได้ใช้ดนตรีบรรเลงให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแล้วฟัง ปรากฏว่าช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี”



3. ด้านสังคม

มีการใช้จังหวะดนตรีมากำหนดควบคุมการทำงาน เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง เช่นการพายเรือ จังหวะยก-ส่งของ เป็นต้น การใช้ดนตรีปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ เช่นเพลงปลุกใจ เพลงเชียร์ เป็นต้น
ใช้ เสียงดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ให้ดูศักสิทธิ์ เคร่งขรึม น่าเชื่อถือ หรือสื่ออารมณ์ความรู้สึกที่ร่าเริง เบิกบาน สนุกสนาน ในงานเลี้ยงสังสรรค์ งานฉลองต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างงาน อาชีพ ให้กับบุคคลในสังคมอย่างมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น นักดนตรี นักร้อง ครูสอนดนตรี นักประพันธ์เพลง นักผลิตรายการคอนเสิร์ต นักดนตรีบำบัด ผู้อำนวยการเพลงหรือ
วาทยากรนักเขียนทางดนตรี นักประดิษฐ์เครื่องดนตรี และผู้ซ่อมหรือปรับเสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น



4. ด้านจิตวิทยา

ใช้เสียงดนตรีปรับเปลี่ยนนิสัยก้าว ร้าวของมนุษย์ รักษาโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะเด็กจะทำให้มีสมาธิยาวขึ้น อ่อนโยนขึ้น โดยใช้หลักทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี ซึ่งเชื่อว่าดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของ มนุษย์ จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้ ปัจจุบัน มีนักดนตรีบำบัดผู้ซึ่งมีความสามารถฟื้นฟูและบำบัดรักษาความเจ็บป่วยทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ ทำงานในด้านนี้



5. ด้านกีฬา

ใช้ดนตรีประกอบกิจกรรมกีฬา เช่น ยิมนาสติกกิจกรรมเข้าจังหวะ การเต้นแอโรบิค เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ที่ใช้ดนตรีเป็นส่วนประกอบในการดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจกล่าวได้ว่าดนตรีเป็นส่วนประกอบที่ขาดเสียมิได้ในกิจกรรมของสังคมมนุษย์


แหล่งที่มา: kungsup.blogspot.com

ดนตรีกับการดำรงชีวิตของมนุษย์

ดนตรีกับการดำรงชีวิตของมนุษย์


ดนตรี เป็นวิจิตรศิลป์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างใกล้ชิด ชีวิตประจำวันของมนุษย์มักมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ดนตรี เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์


1. เกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต คนตะวันตกเชื่อว่าวิญญาณกลับไปสู่พระเจ้า โดยอาศัยเสียงดนตรี จะได้ได้ว่า ดนตรีในสังคมตะวันตกเป็นเรื่องของจิต เรื่องของวิญญาณที่เกี่ยวข้องกับความสะอาด ความสูงส่งของดนตรีทำให้ดนตรีเจริญ


2. ดนตรีเกี่ยวข้องกับจิต เมื่อดนตรีเป็นสื่อ หรือพาหะที่จะนำให้จิตไปสู่ภาวะใดภาวะหนึ่ง ทำให้จิตดำ หรือทำให้จิตขาวก็ขึ้นอยู่กับพาหะ
นอกจากนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึงดนตรีมีคุณค่าต่อจิตที่บริสุทธิ์ มีความสะอาด
โดยกล่าวว่า “ดนตรีและศิลปะบริสุทธิ์มีคุณ สนับสนุนความมีจิตว่าง” เมื่อดนตรีหยาบ ๆ ก็มีโอกาสที่จะทำให้จิตที่สัมผัสกับดนตรีหยาบตามไปด้วย ทำนองเดียวกัน ดนตรีที่ละเอียดอ่อน เมื่อสัมผัสกับจิตก็มีโอกาสทำให้จิตละเอียดอ่อนตามไปด้วย ดนตรีจึงเป็นเพียงสื่อที่จะนำไปสู่ความดำ หรือความขาวได้


3. ดนตรีเกี่ยวข้องกับศาสนาและพิธีกรรม เมื่อดนตรีสามารถเป็นสื่อชักนำไปสู่ความดำหรือความขาว นักการศาสนาจึงนำเอาดนตรีไปเป็นอุปกรณ์การสอน ปรุงแต่งเพื่อช่วยให้คนเข้าใจศาสนาได้ง่ายขึ้น โดยใช้ในรูปของเพลงสวด ดนตรีประกอบพิธีกรรม สำหรับในพุทธศาสนาก็มีเพลงสาธุการ เพลงหน้าพาทย์ ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ส่วนประเทศทางตะวันตก ดนตรีที่ใช้ในอดีตมักเป็นดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมเกือบทั้งสิ้น


4. ดนตรีเกี่ยวข้องกับการเมือง ในรูปของเพลงปลุกใจ ปลุกศิลปวัฒนธรรมปลุกความสามัคคีของคนในสังคม เพลงประจำชาติ เพลงเกียรติยศ ล้วนแล้วแต่เป็นดนตรีที่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น ขงจื้อ นักปราชญ์จีนเขียนไว้ว่า “ประสบการณ์ของมนุษย์ชาติหลายศตวรรษแล้วได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีสิ่งใดจะเชื่อมความสัมพันธ์ของมนุษย์ให้กระชับได้ดีเท่าเสียงดนตรี และเสียงเพลง ดนตรีนำความสามัคคีมาสู่ป่วงชน ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ทุกคนรับรู้ได้ สัญลักษณ์เป็นสื่อภาษาทางปัญญา


5. ดนตรีเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ในโลกปัจจุบัน ธุรกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต เมื่อมีเสียงดนตรีก็ย่อมมีธุรกิจการดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น เพลงประกอบโฆษณา สินค้า เทปเพลง แผ่นบันทึกเสียง


6. ดนตรีเกี่ยวข้องกับการศึกษา เมื่อดนตรีเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับจริยศาสตร์ ในการที่จะขัดเกลาจิตใจคนในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันดนตรีเป็นสื่อนำไปสู่การศึกษาชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ดังคำกล่าวที่ว่า “เรียนดนตรีเพื่อพัฒนาคุณภาพของคน แล้วคนนำออกไปพัฒนาคุณภาพชีวิต

7. ดนตรีเกี่ยวข้องกับการบำบัด ดนตรีบำบัดหมายถึงการนำดนตรี และกิจกรรมดนตรีต่าง ๆ ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านต่าง ๆ ของตนเองได้ และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข


8. ดนตรีเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม มนุษย์แต่ละกลุ่มชนต่างก็มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ภาษา การสื่อสาร พิธีกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่มชน ดนตรีที่รับใช้มนุษย์ในแต่ละกลุ่มชนจึงมีความสัมพันธ์กับสภาพความเป็นอยู่ เช่น ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงทำนองมักจะสูง ๆ ต่ำ ๆ ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มทำนองมักจะราบเรียบ ไม่ค่อยกระโดดเครื่องดนตรี ที่บรรเลงก็มักถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่หาได้โดยทั่วไปในท้องถิ่น เช่น ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีไม้ไผ่มาก เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ก็มักจะสร้างด้วยไม้ไผ่ เป็นต้น
บทเพลงที่ถูกสร้างขึ้นของมนุษย์แต่ละกลุ่มชน จึงมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองตามรูปแบบของการดำรงชีวิต ความเชื่อ ตามขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน


เขียนโดย POON

คนข้างๆ เพลงเพราะจากผู้ดูแลบล็อกครับ

บริตป็อป

บริตป็อป

          บริตป็อป (อังกฤษ: Britpop) คือ บริติช อัลเทอร์เนทีฟร็อก ซึ่งเป็นการเคลือนไหวทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของอังกฤษช่วงกลางยุค 1990s ลักษณะของศิลปิน ส่วนมากจะได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปินดนตรีอังกฤษในช่วง ทศวรรษ 60s-70s ศิลปินเด่น ๆ ของแนวนี้คือ เบลอ และ โอเอซิส และยังรวมถึง ซูเอด, พัลพ์, โอเชียนคัลเล่อร์ซีน, ชูเปอร์กราส, เดอะเวิร์ฟ และ เรดิโอเฮด

ประวัติ

          การพัฒนาและการกำเนิดของบริตป็อปเกิดจาก ปฏิกิริยาต่อต้านวัฒนธรรมและกระแสดนตรีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980s และ 1990s ตอนต้น เช่นแนว เอซิดเฮาส์ และฮิปฮอป ซึ่งสองแนวดังกล่าวทำให้เกิดดนตรีที่เน้นจังหวะ (หนักไปทางใช้อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งทำให้วงการดนตรีอินดี้บริเตนหันมาสนใจ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ดนตรีในอังกฤษที่ใช้เน้นเสียงกีตาร์เป็น หลัก ชูเกรซิงมูฟเมนท์ (ร็อกนอกกระแสในไอร์แลนด์ และอังกฤษปลายยุค 80 จึงเกิดโดยได้ต่อต้านกระแสดนตรีพวกปลายยุค 80-90 ตอนต้น โดยทำจากโปรดักส์นาน ๆ มีความเป็นไซคีดีริก (วงแนว ชูเกรซิง เด่น ๆ คือ เดอะจีซัสแอนด์แมรีเชน และ มายบลัดดีวาเลนไทน์)

          แต่กุญแจที่สำคัญจริง ๆ ที่ปลุกบริตป็อปขึ้นมาคือ กรันจ์ การบุกอังกฤษโดยวงแนวกรันจ์อย่าง เนอร์วาน่า, มัดฮันนี่, เพิร์ลแจม, ซาวด์การ์เดน และ อลิซอินเชนส์ ทำให้วงการดนตรีอังกฤษตื่นตัว

          บริตป็อปทั้งหลายต่างได้รับแรงดลใจสำคัญอย่างใหญ่หลวงจาก บริติชกีตาร์มิวสิก ในปี 1960s-1970s (ยุควงอังกฤษบุกอเมริกา) วงที่บริตป็อปทั้งหลายได้รับอิทธิพลคือ เดอะ บีทเทิลส์ และ เดอะโรลลิงสโตนส์ (จอมพลใหญ่ในการบุก) แนวดนตรี ม็อด (เดอะ ฮู, เดอะ คิงค์ส และ เดอะสม็อลเฟซส์) และจากดนตรีในยุค 1970-1980 เช่นจากศิลปินแนว แกลมพังค์ (เดวิด โบวี และ ที.เร็กซ์) แนวพังค์ร็อก( เซ็กซ์ พิสทอลส์, เดอะ แคลช, เดอะแจม และ เดอะบัซค็อกส์)

          บรรพบุรุษโดยตรงของกระแสบริตป็อปคือวงอินดี้ในยุค 1980 และ 1990 (ตอนต้น) เช่น เดอะสมิธส์, จีซัสแอนด์แมรีเชน, และ เจมส์ แนวหน้า (บริตป็อปรุ่นบุกเบิก) คือ เดอะสโตนโรส, เดอะแฮปปี้มันเดส์, และ อินสไปรัลคาร์เปทส์ แต่บางทีวงที่ส่งอิทธิพลโดยตรงต่อบริตป็อปคือ C86 (เล่นแนวอินดี้ป๊อปปี้ กีตาร์)

          ในขณะที่อเมริกากระแสกรันจ์ โพสต์-กรันจ์ และฮิปฮอป กำลังแรง อังกฤษก็จุดประกายตอนยุค 1960 (ยุควงอังกฤษบุกอเมริกา) เกิดขึ้นโดยวงอย่าง ซูเอด, โอเอซิส, เดอะเวิร์ฟ, เรดิโอเฮด, พัลพ์ และ เบลอ ฯลฯ โดยวงพวกนี้ส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจาก บริติชร็อกอันเดอร์กราวด์ ในยุค 80 (ก็คือแนว ทวีป็อป, ชูเกรซิง และ สเปซร็อก) พูดง่าย ๆ ก็คือเหมือนตอนยุค 60 ที่อังกฤษบุกอเมริกานั้นเอง อย่างตอนนั้นมี บีทเทิล และ โรลลิ่งสโตน เปนคู่กัดกัน บริตป็อปก็มี โอเอซิสกับเบลอ มากัดกันเอง เบลอจะมีแนวดนตรีคล้ายวง เดอะสม็อลเฟซส์ กับ เดอะ คิงค์ส ส่วนโอเอซิสเอาความกวนแบบ เดอะ โรลลิ่งสโตน แต่ซาวด์ดนตรีแบบเดอะ บีทเทิลส์มา ส่วน เดอะเวิร์ฟ และ เรดิโอเฮด นี้ได้รับอิทธิพลจาก เอลวิส คอสเตลโล, พิงก์ ฟลอยด์ และ อาร์.อี.เอ็ม.

          สรุปบริตป็อปแท้ ๆ ก็เป็นวงช่วงปี 1990 กลาง ๆ วงตอนหลังอาจจะเรียกไม่ใช้บริตป็อปของแท้เท่าไหร่ แถมแท้ ๆ จะเน้นซาวด์กีตาร์ดนตรีจะคล้ายงานของอันเดอร์กราวน์วงอังกฤษยุค80 บวกงานของวงอังกฤษยุค 60


ที่มาจาก : th.wikipedia.org

บทเพลงเพราะครับ